อาการผลข้างเคียงคีโมเหล่านี้มีหลายอย่างที่ป้องกันได้ โดยแพทย์ผู้รักษาจะเป็นผู้พิจารณาให้ยา หรือมาตรการในการป้องกัน อย่างไรก็ตาม ท่านสามารถมีส่วนร่วมในการแก้ไข บรรเทา หรือป้องกันอาการดังกล่าวได้ ดังนั้น ท่านจึงควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการดูแลตัวเองเมื่อได้รับยาเคมีบำบัด เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพในการรักษาจากยาสูงสุด โดยมีผลข้างเคียงน้อยที่สุด ตามที่ผู้ป่วยและแพทย์ผู้ทำการรักษาตั้งใจไว้ เรามาดูกันว่าอาการข้างเคียงของผู้ที่ได้รับเคมีบำบัด หรือ เรียกอีกอย่างว่า คีโม นั้นมีอะไรบ้าง
-
- อาการไข้
- คลื่นไส้ อาเจียน
- ท้องผูก
- ฝ่ามือฝ่าเท้ามีสีแดงหรือดำคล้ำและเจ็บ
- อารมณ์แปรปรวนง่าย
- โลหิตจาง
- เจ็บปากเจ็บคอ
- ผมร่วง
- ชาปลายมือปลายเท้า
- จุดเลือดหรือจ้ำเลือด (ควรพบแพทย์ทันที)
- ผิวหนังและเล็บเปลี่ยนสี (ควรพบแพทย์ทันที)
- ท้องเสีย
อาการคลื่นไส้ อาเจียน ซึ่งพบประมาณ 50% ของผู้เข้ารับการรักษาทั้งหมด จึงจัดเป็นปัญหาสำคัญเนื่องจากอาการดังกล่าวทำให้ผู้ป่วยอ่อนเพลีย น้ำหนักลด เกิดภาวะขาดสารอาหารและเกลือแร่ และมีความรู้สึกที่ไม่ดีต่อการรักษาจนอาจมีผลต่อการรักษาได้ ในการป้องกันอาการคลื่นไส้อาเจียนนั้นควรเริ่มให้ยาป้องกันตั้งแต่ก่อนการให้ยาเคมีบำบัดต่อเนื่องไป จนกระทั่งเลยช่วงเวลาที่ยาเคมีบำบัดจะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน โดยการให้ยาป้องกันอาการคลื่นไส้อาเจียน มีวิธีการให้ยาได้หลายทาง ขึ้นอยู่กับชนิดของยาที่ใช้ เช่น ชนิดรับประทาน การฉีดเข้าหลอดเลือด การฉีดเข้ากล้าม การสอดเข้าทางทวารหนัก การอมใต้ลิ้น หรือแบบแผ่นแปะผิดหนัง ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถรับประทานยาทางปากได้
ดังนั้นอาการข้างเคียงเหล่านี้มีหลายอย่างที่ป้องกันได้ โดยแพทย์ผู้รักษาจะเป็นผู้พิจารณาให้ยา หรือมาตรการในการป้องกัน อย่างไรก็ตาม ท่านจึงควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการดูแลตัวเองเมื่อได้รับยาเคมีบำบัด เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพในการรักษาจากยาสูงสุด โดยมีผลข้างเคียงน้อยที่สุด ตามที่ผู้ป่วยและแพทย์ผู้ทำการรักษาตั้งใจไว้
อาการไข้
อาการไข้ หมายถึง การที่มีอุณหภูมิในช่องปากมากกว่าหรือเท่ากับ 38 องศาเซลเซียส เป็นเวลามากกว่าหรือเท่ากับ 1 ชั่วโมง หรือมีอุณหภูมิรักแร้มากกว่าหรือเท่ากับ 37.8 องศาเซลเซียส
สาเหตุ ไข้อาจเป็นอาการนำของภาวการณ์ติดเชื้อ หรืออาการของโรคมะเร็งเอง อาจพบภาวะเม็ดเลือดขาว (ซึ่งทำหน้าที่ต่อสู้เชื้อโรคต่าง ๆ) ต่ำลงและเกิดการติดเชื้อ
ได้เมื่อท่านได้รับยาเคมีบำบัด สังเกตได้จากอาการไข้ รู้สึกหนาวสั่น เจ็บรอบ ๆ ทวารหนักหลังการให้ยาเคมีบำบัด โดยเฉพาะในช่วง 7-14 วัน หลังได้รับยาเคมีบำบัด
วิธีป้องกันการติดเชื้อโดยทั่วไป
– ล้างมือให้สะอาดก่อนรับประทานอาหารและหลังเข้าห้องน้ำทุกครั้ง
– หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดกับผู้ที่เป็นไข้หวัดวัณโรค และงูสวัด เป็นต้น
– เมื่อท่านมีภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำ ควรหลีกเลี่ยงการอยู่ในบริเวณที่มีผู้คนแออัด เช่น ตลาด โรงภาพยนตร์ หรือห้างสรรพสินค้า เป็นต้น
– ดูแลร่างกายไม่ให้อับชื้น อาบน้ำให้สะอาดทุกวัน โดยใช้สบู่อ่อน ๆ เช่น สบู่เด็ก
– ระมัดระวังการใช้ของมีคมทุกชนิด
– หากถูกของมีคมบาด ให้รีบทำความสะอาดแผลและปิดด้วยผ้าพันแผล
– ควรสวมถุงมือทุกครั้งเพื่อป้องกันการเกิดแผลเวลาทำสวน หรืองานก่อสร้าง
– ทาครีมหรือโลชั่นถนอมผิว เพื่อป้องกันผิวแห้งแตก
– รับประทานอาหารที่สุกและสะอาด หลีกเลี่ยงของสุก ๆ ดิบ ๆ หรือของหมักดอง เช่น แหนม ปลาร้า ก้อย ส้มตำ และยำต่าง ๆ เป็นต้น
– เมื่อท่านมีภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำ ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานผักและผลไม้สด
– แปรงฟันให้สะอาด ด้วยแปรงสีฟันขนนุ่ม
– ควรมีเทอร์โมมิเตอร์สำหรับวัดไข้ติดตัวไว้ ถ้าท่านสงสัยว่ามีไข้ควรวัดอุณหภูมิร่างกายเพื่อยืนยันอาการ
– หากมีอาการไข้ภายหลังจากการได้รับยาเคมีบำบัด ให้รีบมาพบแพทย์โดยด่วน
วิธีการรักษาเมื่อมีไข้
1. รีบมาพบแพทย์เพื่อตรวจเลือดดูว่าเม็ดเลือดขาวต่ำหรือไม่ ถ้าจำนวนเม็ดเลือดขาวต่ำ แพทย์จะฉีดยาปฏิชีวนะให้โดยด่วน และรับตัวไว้รักษาใน
โรงพยาบาลทันที
2. อาจลดความเสี่ยงของการติดเชื้อในช่วงเม็ดเลือดขาวต่ำ หรือในระยะเวลาที่มีไข้และเม็ดเลือดขาวต่ำได้ด้วยการฉีดยากระตุ้นเม็ดเลือดขาว
ซึ่งขึ้นกับดุลยพินิจของแพทย์ผู้ดูแล
โลหิตจาง
อาการ ซีด เหนื่อยง่าย หัวใจเต้นเร็ว เจ็บหน้าอก มึนศีรษะ อาจมีเลือดออกในทางเดินอาหารทำให้อุจจาระมีสีดำ แต่อาการที่พบบ่อยที่สุด คือ อ่อนเพลีย
สาเหตุ เกิดจากเม็ดเลือดแดงมีจำนวนลดลง ซึ่งอาจเป็นผลข้างเคียงของยาเคมีบำบัด มีเลือดออกในทางเดินอาหาร หรือมีการสูญเสียเลือด รวมทั้งภาวะ
โรคมะเร็งเองก็อาจทำให้จำนวนเม็ดเลือดแดงต่ำลงได้เช่นเดียวกัน
วิธีบรรเทาอาการ
– รับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กมาก เช่น ตับ ผักใบเขียว อาหารที่มีโปรตีน และวิตามินสูง
– พักผ่อนให้เพียงพอ และออกกำลังกายสม่ำเสมอแต่ไม่หักโหม เช่น เปลี่ยนจากวิ่งมาเป็นเดินช้า ๆ และทำจิตใจให้สดชื่นแจ่มใส
– ทำกิจกรรมต่าง ๆ ตามปกติ แต่ปรับให้เหมาะสมกับสภาพร่างกาย
วิธีการรักษา โดยการให้เลือด หรือยาฉีดกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดง ซึ่งทั้งหมดนี้จะขึ้นกับดุลยพินิจของแพทย์โดยประเมินจากสภาวะของผู้ป่วย
มีจุดเลือดหรือจ้ำเลือด
อาการ มีจุดเลือดหรือจ้ำเลือดขึ้นตามตัว เลือดกำเดาไหล เลือดออกตามไรฟัน มีจุดแดงเล็ก ๆ ที่ตาขาว ลำตัว แขน และขา ประจำเดือนมามาก หากเป็นแผลเลือดออก
เลือดจะหยุดไหลได้ช้า แม้ว่าจะเป็นแผลขนาดเล็กก็ตาม
สาเหตุ เกิดจากจำนวนเกล็ดเลือดต่ำหลังได้รับยาเคมีบำบัด
วิธีป้องกันการเกิดแผลเลือดออกหรือบรรเทาอาการ
– หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่อาจทำให้เกิดบาดแผล หรือเกิดการบาดเจ็บ เช่น ปั่นจักรยาน ขี่มอเตอร์ไซด์ ตัดไม้ผ่าฟืน ตัดเย็บเสื้อผ้า หรือทำฟัน
– เลือกการออกกำลังกายเบา ๆ ไม่หักโหม เช่น เดิน ว่ายน้ำ เป็นต้น
– ใช้ที่โกนหนวดไฟฟ้าแทนใบมีดโกน เพราะทำให้เกิดแผลน้อยกว่า
– ใช้แปรงสีฟันขนนุ่ม ๆ
– ไม่ควรซื้อยากินเอง เช่น แอสไพริน ยาแก้ปวดคลายกล้ามเนื้อบางชนิดที่ระคายเคืองกระเพาะอาหาร เพราะจะไปรบกวนการทำงานของเกล็ดเลือด
และทำให้เลือดออกในทางเดินอาหารได้
– งดดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
วิธีการรักษา แพทย์อาจพิจารณาให้เกล็ดเลือดในรายที่มีจำนวนเกล็ดเลือดต่ำ และ/หรือมีอาการเลือดออก
คำแนะนำเรื่องโภชนาการสำหรับผู้ป่วยที่ได้รับยาเคมีบำบัด
เนื่องจากส่วนใหญ่ผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัดเป็นผู้ป่วยนอก ดังนั้นจึงควรเตรียมอาหารและของว่างมาด้วย หากการให้ยาเคมีต้องใช้ระยะเวลาที่นาน บางโรงพยาบาลมีการอำนวยความสะดวกโดยมีตู้เย็น และเครื่องไมโครเวฟไว้ให้บริการ
- ควรรับประทานอาหารว่างหรืออาหารเบาๆ ก่อนให้ยาเคมีบำบัด
- การพักผ่อนให้เพียงพอและรับประทานอาหารที่มีประโยชน์สามารถช่วยลดอาการอ่อนเพลียได้เป็นอย่างดี
- หากรู้สึกไม่อยากอาหารหลังจากได้รับยาเคมีบำบัด ก็ไม่ควรฝืนรับประทานซึ่งแก้ไขได้ด้วยการรับประทานทีละน้อยบ่อยๆ หรือเลือกรับประทานอาหารที่ชอบในระหว่างการรักษา
- ควรรับประทานอาหารตามปกติหากสามารถทำได้ ที่สำคัญคือ ไม่ควรฝืนรับประทานอาหารที่ไม่ชอบหรือเมื่อยังรู้สึกอิ่มอยู่
- อย่าเกรงใจที่จะขอให้ญาติและเพื่อนๆ มีส่วนช่วยในการเลือกซื้อ และเตรียมอาหาร หรือหากอยู่คนเดียวก็อาจสั่งอาหารมารับประทานที่บ้านหรือออกไปรับประทานอาหารกับเพื่อนบ้าง
ผลข้างเคียงจากการรักษา ส่วนใหญ่เป็นแบบชั่วคราวเท่านั้น หากอาการไม่หายไป ผู้ป่วยควรแจ้งให้แพทย์ผู้รักษาทราบเพื่อดำเนินการรักษาต่อไป
การดูแลตนเอง เมื่อเกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน
- ในผู้ป่วยที่ต้องควบคุมอาหาร เช่น ผู้ป่วยเบาหวาน ผู้ป่วยโรคหัวใจ ควรมีการปรับเปลี่ยนอาหารตามความเหมาะสม โดยปรึกษากับทีมแพทย์ผู้ให้การรักษา
- ควรแบ่งมื้ออาหารเป็นมื้อเล็กๆ และบ่อยๆ แทนที่จะเป็นมื้อหลัก 3 มื้อตามปกติ
- ควรรับประทานอาหารที่มีโปรตีนและพลังงานสูง
- สามารถรับประทานอาหารเสริมควบคู่ไปด้วย โดยสามารถสอบถามรายละเอียดได้จากทีมผู้ให้การรักษา
- สามารถรับประทานอาหารเสริมควบคู่ไปด้วย โดยสามารถสอบถามรายละเอียดได้จากทีมผู้ให้การรักษา
ในแต่ละวันหากช่วงเวลาใดที่สามารถทานได้ ควรรับประทานให้เพียงพอ ซึ่งส่วนใหญ่มื้อเช้าจะเป็นมื้อที่ผู้ป่วยรับประทานอาหารได้มาก
หากไม่สามารถรับประทานอาหารได้เพียงพอ ควรบอกแก่ทีมผู้ให้การรักษาหรือนักโภชนาการเพื่อรับคำแนะนำในการปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง
หากรับประทานยาแก้อาการคลื่นไส้อาเจียนไม่ได้ผล ควรแจ้งทีมผู้ให้การรักษาทราบเพื่อพิจารณาปรับยาให้เหมาะสม
วิธีบรรเทาอาการ
อาการข้างเคียงดังต่อไปนี้ควรพาผู้ป่วยไปพบแพทย์
- ท่านควรรีบมาพบแพทย์ทันทีถ้ามีอาการดังต่อไปนี้
- มีอาการซีดมาก อ่อนเพลียมาก เหนื่อยหอบ หรือหน้ามืดมีไข้ (วัดไข้ซ้ำอีกครั้งใน 1 ชั่วโมงต่อมา หากยังมีไข้ให้รีบมาโรงพยาบาลทันที โดยห้ามกินยา
ลดไข้เด็ดขาด) หรือมีอาการหนาวสั่น ปวดศีรษะ โดยเฉพาะเมื่อมีไข้ในช่วง 7-14 วัน หลังได้รับยาเคมีบำบัด - มีจุดเลือดจ้ำเลือดขึ้นตามตัว หรือมีเลือดออกตามไรฟัน เลือดกำเดาไหล มีจุดแดงที่ตาขาว ลำตัว แขน และขา
- อาการข้างเคียงต่าง ๆ มีความรุนแรงมากขึ้น เช่น ท้องเสียรุนแรง ปวดศีรษะรุนแรง
- น้ำหนักเพิ่มขึ้น หรือลดลงอย่างรวดเร็ว
- มีผื่น หรือตุ่มขึ้นตามร่างกาย
- สูญเสียการทรงตัว
- มีอาการซีดมาก อ่อนเพลียมาก เหนื่อยหอบ หรือหน้ามืดมีไข้ (วัดไข้ซ้ำอีกครั้งใน 1 ชั่วโมงต่อมา หากยังมีไข้ให้รีบมาโรงพยาบาลทันที โดยห้ามกินยา
แจ้งแพทย์หรือพยาบาลหากมีอาการคลื่นไส้อาเจียนมาก และไม่สามารถควบคุมได้
ข้อมูลบางส่วนคัดกรองมากจาก : chulacancer.net