กรมส่งเสริมวัฒนธรรม ยกทัพจับมือเหล่าวิทยากรจากภาครัฐและเอกชน
บ่มเพาะผู้ประกอบการและทายาทสินค้าวัฒนธรรมเพื่อยกระดับสินค้าไทยให้ยั่งยืน
กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม จับมือ บริษัท โกโกอา จำกัด มหาวิทยาลัยศรีปทุม
และองค์การสะพานปลา ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงเปิดตัวหลักสูตร CFBEP
เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2565 ณ โรงแรมสวิสโซเทล กรุงเทพฯ รัชดา อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวง
วัฒนธรรม นายชาย นครชัย เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการใน
หลักสูตร “การเสริมสร้างศักยภาพผู้ประกอบการและทายาทสินค้าวัฒนธรรม เพื่อพัฒนาทุนทางวัฒนธรรมใน
สินค้าไทยให้เกิดความยั่งยืน” โดยร่วมกับ บริษัท โกโกอา จำกัด นำโดยรองศาสตราจารย์ วรรณรัตน์ ตั้งเจริญ
ที่ปรึกษาบริษัท โกโกอา จำกัด, มหาวิทยาลัยศรีปทุม นำโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิรัช เลิศไพฑูรย์พันธ์
รองอธิการบดี และคณบดีคณะสหวิทยาการเทคโนโลยีและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยศรีปทุม และองค์การสะพาน
ปลา สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นำโดยนายปรีดา ยังสุขสถาพร ผู้อำนวยการองค์การสะพานปลา
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดตัวหลักสูตรการเสริมสร้างศักยภาพผู้ประกอบการสินค้า
วัฒนธรรม และพัฒนาทุนทางวัฒนธรรมในสินค้าไทยให้เกิดความยั่งยืน (Culture Family Business
Entrepreneur Program) ในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงครั้งนี้ มีผู้ประกอบการ และเผยแพร่ให้ผู้ชมที่สนใจเข้า
ร่วมงานผ่านระบบออนไลน์ ตามมาตรการป้องกันโควิด 19
การจัดกิจกรรมโครงการในครั้งนี้มีกลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้ประกอบการและทายาทสินค้าวัฒนธรรม ทั่ว
ภูมิภาคประเทศไทย ซึ่งผู้ประกอบการที่สมัครเข้าร่วมโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการจะได้รับการอบรมออนไลน์จาก
วิทยากรและผู้เชี่ยวชาญ ใน 3 หลักสูตร 14 รายวิชา เมื่ออบรมออนไลน์แล้ว จะได้รับสิทธิส่งผลงานที่ผ่านการ
พัฒนา จากผู้ประกอบการที่ต้องการเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าวัฒนธรรม เพื่อเข้าสู่การประกวด “สุดยอดผลิตภัณฑ์
วัฒนธรรมของไทย” โดยจะได้รับการคัดเลือก จำนวน 15 ทีม
การจัดอบรมและกิจกรรมในครั้งนี้มีผู้ประกอบการสมัครเข้าร่วมอบรมในโครงการฯ กว่า 180 คน
มีผลิตภัณฑ์สินค้าวัฒนธรรม กว่า 100 ชิ้น เพื่อเข้าร่วมการพัฒนาสินค้า และแข่งขันการประกวดสุดยอดผลิตภัณฑ์
สินค้าไทย โดยผลงานในการแข่งขันครั้งนี้ สามารถจุดประกายความคิดสร้างสรรค์ พัฒนาต่อยอดความรู้และนำไป
ประยุกต์ใช้กับการพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการและทายาทสินค้าวัฒนธรรมได้อย่างยั่งยืนต่อไป
ภายในงานลงนามบันทึกข้อตกลงครั้งนี้ ยังมีกิจกรรมเสวนาแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในแต่ละสาขาวิชาใน
หลักสูตรแต่ละหลักสูตร โดยมีตัวแทนวิทยากรและผู้เชี่ยวชาญในแต่ละด้านที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตร ทั้งจากภาครัฐ
และภาคเอกชน ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเดียวกัน คือ เพื่อต่อยอดอดีต ปรับปัจจุบัน และสร้างคุณค่าใหม่ในอนาคต
การลงนามบันทึกครั้งนี้ จะเป็นก้าวสำคัญที่จะนำไปสู่การสร้างความเปลี่ยนแปลงให้สินค้าวัฒนธรรม
ในหลายมิติ ไม่ว่าจะเป็นด้านการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ การพัฒนาทุนมนุษย์ไปสู่ทุนทางวัฒนธรรมของ
ไทยให้เกิดความยั่งยืน รวมถึงการสร้างองค์ความรู้เพื่อสร้างประโยชน์แก่สาธารณะต่อไป