จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา2019 (COVID-19) ที่กลับมาแพร่ระบาดอีกครั้ง ส่งผลกระทบต่อการเติบโตของเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมไทยในวงกว้าง ซึ่งจากรายงานตัวเลข ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ที่โตเพียง 1.0% โดยไตรมาสแรกของปี 2564 อยู่ที่ 2.6% ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี 2563 ที่ติดลบ 6.1% ส่งผลให้ผู้ประกอบการ SMEs ที่มีจำนวน 3.1 ล้านราย อยู่ในสถานการณ์ที่น่ากังวล เพราะ ผู้ประกอบการ SMEs ส่วนใหญ่ อยู่ในกลุ่มธุรกิจท่องเที่ยว บริการ และกลุ่มมค้าส่งค้าปลีก โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ประกอบการรายย่อย หรือ Micro SMEs รวมถึงวิสาหกิจชุมชนที่กระจายอยู่ตามภูมิภาคต่าง ๆ
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมจึงได้ทำการสำรวจปัญหาและความต้องการของผู้ประกอบการรายย่อย จำนวน 1,574 สถานประกอบการ พบว่ามี 8 ปัญหาสำคัญที่ผู้ประกอบการต้องเผชิญ
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม จึงเร่งแผนระยะสั้นเพื่อช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบใน 60 วัน ภายใต้นโยบาย โควิด 2.0 “พร้อมสู้ อยู่ได้ ไปรอด” ผ่าน 5 มาตรการเร่งด่วน
- การจัดการโควิดภายในองค์กร โดยการให้คำแนะนำ ความรู้ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับผู้ประกอบการ ในการบริหารจัดการสถานประกอบการ ภายใต้สถานการณ์ COVID-19 โดยเน้นสร้างองค์ความรู้ในการบริหารจัดการองค์กร เพื่อสร้างสถานประกอบการปลอดเชื้อ สามารถป้องกันและรับมือกับการแพร่ระบาดที่เกิดขึ้นได้ โดยจัดกิจกรรมผ่านทาง Facebook Group : DIProm Fight Covid และสามารถเข้าร่วมกลุ่มเพื่ออัปเดตความรู้ ข้อมูลข่าวสารในการบริหารจัดการองค์กร ได้ที่ลิงก์ facebook.com/groups/dipromfightcovid
- การตลาดภายใต้โควิด
2.1 การส่งเสริมการทำการตลาดออนไลน์ภายใต้โครงการ DIProm Marketplace เพื่อให้ผู้ประกอบการและผู้บริโภค สามารถเข้ามาซื้อ-ขาย สินค้าและบริการดี ๆ มีคุณภาพ ผ่านช่องทาง
https://www.facebook.com/groups/diprommarketplace
2.2 การส่งเสริมด้านกลยุทธ์การตลาดออนไลน์ผ่านการฝึกอบรม e-Learning 26 หลักสูตร ที่มุ่งเน้นการใช้ดิจิทัลเข้ามาเป็นเครื่องมือในการดำเนินธุรกิจ จากการถ่ายทอดประสบการณ์ของที่ปรึกษาและผู้ประกอบการที่ช่ำชองด้านการตลาดแบบออนไลน์ รวมทั้งเคล็ดลับหรือวิธีการเจาะลึกตลาดในอาเซียน ที่จะช่วยเสริมความรู้ให้ผู้ประกอบการสามารถฝ่าวิกฤตนี้ไปได้ ซึ่งสามารถศึกษาได้ด้วยตัวเอง ผ่านทางเว็บไซต์ www.smesgrowup.com
2.3 แนวทางการช่วยเหลือด้านการขนส่ง ผ่านโครงการ ดีพร้อมแพค : บรรจุภัณฑ์สร้างสรรค์วิถีใหม่ (The Next Diprom Packaging: DipromPack) ด้วยการออกแบบและพัฒนาบรรจุภัณฑ์สร้างสรรค์ ปรับปรุงรูปแบบบรรจุภัณฑ์ใหม่ เช่น การปรับปรุงแบบโครงสร้างกล่อง ลดขนาด หรือวัสดุที่ผลิตให้ประหยัดทั้งในด้านต้นทุนการผลิตและพื้นที่ในการขนส่ง ให้มีความเหมาะสม สอดคล้องกับการจำหน่ายผ่านช่องทาง Online มากขึ้น โดยผู้สนใจสามารถ Download ใบสมัครได้ที่ https://qrgo.page.link/1iAWJ
2.4 แนวทางการตลาดร่วมเป็นคู่ค้ากับภาครัฐ โดยเตรียมความพร้อมเอสเอ็มอี และวิสาหกิจชุมชนไทยเข้าสู่การรับรองตราสินค้า Made in Thailand หรือ MiT โดยสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ผ่านการเสริมสร้างการรับรู้และสร้างโอกาสการเป็นคู่ค้ากับภาครัฐ ผ่าน 3 ช่องทาง ประกอบด้วย การรับรอง Made in Thailand (MiT) โดย ส.อ.ท. การขึ้นทะเบียน เอสเอ็มอี Thai SME-GP ของสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ สสว. และการขึ้นบัญชีสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม Thai GPP ของกรมควบคุมมลพิษ
- เปลี่ยนค่าใช้จ่ายเป็นเงินทุน โดยการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาปรับเปลี่ยนค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจให้กลายเป็นเงินทุนในการประกอบกิจการให้แก่ผู้ประกอบการ โดยการใช้ระบบคลังสินค้าออนไลน์ เพื่อเปลี่ยนเงินทุนด้วยเทคโนโลยี สามารถลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์ให้แก่ผู้ประกอบการผ่านระบบ Google Sheet และ Line OA ซึ่งเป็นมาตรการช่วย SMEs แบบดีพร้อม ด้วยการให้คำปรึกษาและพัฒนาระบบการบริหารสินค้าคงคลัง เพื่อลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์ 3 ด้านหลัก ได้แก่ ต้นทุนการเก็บรักษาสินค้าคงคลัง ต้นทุนการขนส่งสินค้า ต้นทุนการบริหารจัดการ เพิ่มขีดความสามารถในการบริหารจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน 3 มิติ ได้แก่ ต้นทุน เวลา และความน่าเชื่อถือ ผ่านโครงการ เพิ่มขีดความสามารถในการบริหารจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานของภาคอุตสาหกรรม ควบคู่ไปกับการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีเกษตรอุตสาหกรรมอัจฉริยะให้แก่ผู้ประกอบการ โดยสามารถลงทะเบียนเพื่อเข้าร่วมกิจกรรมเสริมสร้างความร่วมมือด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน ได้ทาง https://forms.gle/GQUJ5PHp7Zsd2fNL6
- สร้างเครือข่ายพันธมิตร โดยการจัดสรรและเชื่อมโยงเครือข่ายพันธมิตรให้แก่ผู้ประกอบการผ่านโครงการสำคัญ ๆ ดังนี้ โครงการเชื่อมโยงเครือข่ายเกษตรกรและผู้แปรรูป โครงการเชื่อมโยงเทคโนโลยี เพื่อปรับรูปแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ โครงการเชื่อมโยงเครื่องจักรเพื่อแปรรูป (i-Aid) โครงการช่างชุมชน โดยการมุ่งเน้นการพัฒนาทักษะวิชาชีพให้แก่ช่างในชุมชน และสามารถติดตามข่าวสาร ความรู้เกี่ยวกับการรวมกลุ่มและเชื่อมโยงอุตสาหกรรม ได้ที่ https://www.facebook.com/thailandclusterhub
- ปรับโมเดลธุรกิจ เพื่อให้ผู้ประกอบการมีความพร้อมในการปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินธุรกิจ เพื่อให้ทันต่อสถานการณ์เศรษฐกิจ รวมถึงการสร้างและพัฒนาผู้ให้บริการธุรกิจ อุตสาหกรรม (SP) และเสริมทักษะทางการเงิน (Financial Literacy) ให้แก่ผู้ประกอบการ SMEs และวิสาหกิจชุมชน เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักถึงความสำคัญ เพื่อ การตัดสินใจทางการเงินที่ดี พร้อมยังได้ช่วยเหลือผู้ประกอบการในการจัดทำแผนบริหารความเสี่ยง (Business Continuity Plan) ในการดำเนินธุรกิจ เพื่อให้สามารถรับมือและสร้างแนวทางการดำเนินธุรกิจใหม่ภายใต้ สถานการณ์ COVID-19 โดยสามารถศึกษาเพิ่มเติมผ่านบทเรียนออนไลน์ ได้ทางhttps://www.youtube.com/DIPromStation
และเพื่อให้การดำเนินงานมีความสอดคล้องกับสถานการณ์ COVID-19 ระลอกใหม่นี้ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมได้นำความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ เพื่อปรับแผนการดำเนินงานต่าง ๆ ให้มีความเหมาะสมตามมาตรการด้านสาธารณสุข และให้สอดรับกับรูปแบบการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการที่เปลี่ยนแปลง เพื่อส่งเสริมให้ ผู้ประกอบการและผู้ที่ได้รับผลกระทบ มีความพร้อมที่จะเผชิญหน้ากับสถานการณ์เศรษฐกิจในยุคปัจจุบัน
และฝากติดตาม Facebook Fanpage กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เพื่ออัปเดตข้อมูล ความรู้ ข่าวสาร ที่น่าสนใจ สำหรับ SMEs ได้ทาง www.facebook.com/dipromindustry หรือสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ LINE : @diprom (มี@ด้วยนะคะ)