เอสเอ็มอีไทยตื่นตัว เตรียมพร้อมรับ Post-Pandemic BOOM
(กรุงเทพฯ) – สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) จับมือ สถาบันพัฒนา วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ISMED) ดันผู้ประกอบการเจรจาจับมือกับคู่ค้าในต่างประเทศ เตรียมพร้อมธุรกิจกลับสู่ปกติรับ Post-Pandemic BOOM
หลังจากที่ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก เผชิญกับปัญหาของการแพร่ระบาดไวรัสโควิด อย่างต่อเนื่องมา นานกว่า 1 ปี ทำให้หลายธุรกิจที่เคยหยุดชะงักและรอดูท่าที ต่างทยอยพูดถึงการกลับมาของกระแสการ กระหน่ำซื้อสินค้าหลังการถูกกักตัวอยู่ในพื้นที่จำกัด ล็อคดาวน์เป็นช่วงๆ กันมาตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา (Post-pandemic boom) รวมถึงการชะงักงันของการจับจ่ายใช้สอยในช่วงที่ผ่านมา เพราะผู้บริโภคต่างก็ยัง ไม่แน่ใจกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ทว่าการที่พลเมืองของแต่ละประเทศต่างได้รับวัคซีนในจำนวนที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้หลายประเทศก็เริ่มทยอยเปิดประเทศเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เดินหน้า และเริ่มการจับจ่ายใช้สอยกัน อีกครั้ง
และเพื่อให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ได้เข้าถึงประเทศต่างๆ ที่มีศักยภาพในการสั่งซื้อสินค้าจากไทย โดยเฉพาะประเทศในกลุ่ม ASEAN+6 โดยในปีนี้ โฟกัสใน 3 ประเทศที่มีศักยภาพ
ได้แก่ 1. กลุ่มสินค้าไลฟ์สไตล์ และสินค้าในกลุ่มอาหารที่ตอบโจทย์การบริโภคในไลฟ์สไตล์ปัจจุบัน ไป ยังประเทศอินเดีย ซึ่งมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นลำดับต้น ๆของโลก ทั้งนี้OECD หรือ องค์การ เพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา ได้คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจโลกในปี 2020 จะหด ตัวลง 4.2% แต่ในปี 2021 ที่มี ‘วัคซีน’ และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่าง ๆ ก็ทำให้ภาพของ เศรษฐกิจโลกกลับมาสดใสอีกครั้ง โดยเฉพาะเศรษฐกิจของอินเดียที่ตกสู่ภาวะถดถอยเป็นครั้ง แรกในรอบ 20 ปีเพราะพิษ COVID-19 แต่ในปี 2021 เศรษฐกิจของอินเดียน่าจะกลับมา คึกคักได้อีกครั้ง และเติบโตสูงสุดในโลกเลยทีเดียว
- กลุ่มสินค้าอาหารแปรรูป ไปยังประเทศมาเลเซีย ทั้งนี้ จากข้อมูลในปี 2559 ผลการสำรวจ ล่าสุดจาก World Economic Forum ได้จัดอันดับประเทศมาเลเซีย เป็นหนึ่งใน 25 ประเทศ ในโลกที่มีประชากรที่มีรายได้ต่อหัวจัดอยู่ในกลุ่มที่มีรายได้ปานกลางค่อนไปทางสูง (upper middle-income) กลุ่มผู้บริโภคหลักที่จัดอยู่ในกลุ่มที่มีรายได้ปานกลางค่อนไปทางสูงคือกลุ่ม ประชากรวัยทำงาน มีการศึกษาขั้นต่ำอยู่ที่ระดับปริญญาตรี มีรายได้เพียงพอที่จะใช้จ่ายในด้าน การสันทนาการต่างๆ และเปิดรับสินค้าที่มีความแปลกใหม่ ไม่ว่าจะผลิตจากในประเทศหรือ นำเข้าจากต่างประเทศ สำหรับตลาดอาหารและเครื่องดื่มในประเทศมาเลเซีย สามารถสังเกตได้ จากความหลากหลายของสินค้าบริโภคที่จำหน่ายอยู่ในร้านค้าปลีกระดับต่างๆ ในประเทศ มาเลเซีย โดยเฉพาะกลุ่มสินค้านำเข้าจำพวกอาหารและเครื่องดื่ม หรือความหลากหลายของ ร้านอาหารที่มีคอนเซ็ปต์จากนานาประเทศ กลุ่มผู้บริโภคชาวมาเลเซียรุ่นใหม่ในยุคนี้ ซึ่งเป็นยุค ที่เข้าถึงข่าวสารสนเทศได้ง่ายและรวดเร็ว ทำให้ผู้บริโภคกลุ่มดังกล่าวที่มีกำลังซื้อนอกจากจะ นิยมและเปิดใจกับสินค้าบริโภคจากต่างประเทศแล้ว ยังคำนึงถึงการรับประทานอาหารที่มี ประโยชน์ต่อสุขภาพและหาซื้อได้สะดวก วิถีทางการค้าและการเป็นอยู่ในปัจจุบันยังทำให้ ผู้บริโภคเข้าถึงสินค้านำเข้าจากหลากหลายประเทศได้ง่ายขึ้นอีกด้วย อย่างไรก็ตาม ประเทศ มาเลเซียยังคงเป็นประเทศที่ต้องพึ่งพาการนำเข้าสินค้ากลุ่มอาหารและต้องการนำเข้า วัตถุดิบมาเป็นส่วนผสมในการผลิตอาหารและเครื่องดื่มสำเร็จรูปเพื่อป้อนตลาดในประเทศ และจากข้อมูลพบว่ามาเลเซียนำเข้าสินค้าในกลุ่มอาหารและเครื่องดื่มจากไทย สูงขึ้นอย่าง ต่อเนื่อง
- กลุ่มสินค้าแฟชั่นและความงาม ไปยังประเทศฟิลิปปินส์ เป็นตลาดที่อยู่ในภูมิภาคอาเซียน ที่ มีศักยภาพในการเติบโตสำหรับสินค้าไทย โดยเฉพาะในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ผู้บริโภคชาว ฟิลิปปินส์หันมาให้ความสำคัญกับสุขอนามัยและการพัฒนาบุคลิกภาพ ตลอดจนรูปลักษณ์ ภายนอกเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้การใช้จ่ายกลุ่มสินค้าเครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์ด้านความงาม และดูแลตนเองเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งสินค้าที่วางจำหน่ายก็มีความหลากหลายมากขึ้น ด้วย ประกอบกับ ปัจจุบันกลุ่มผู้บริโภคที่เป็นชนชั้นกลางในฟิลิปปินส์มีการขยายตัวเพิ่มจำนวน มากขึ้น เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่เติบโตอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ชาว ฟิลิปปินส์มีรายได้และกำลังซื้อเพิ่มมากขึ้น ซึ่งผู้บริโภคกลุ่มนี้มีแนวโน้มที่จะเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ ความงามและดูแลตนเองที่มีคุณภาพมากขึ้น จึงทำให้แบรนด์สินค้าระดับกลาง-บน เริ่มมี ยอดขายเพิ่มมากขึ้น ในระหว่างปี 2561 – 2563 ฟิลิปปินส์นำเข้าสินค้าเครื่องสำอาง สบู่และ ผลิตภัณฑ์มีมูลค่า เฉลี่ยปีละ 1,341.23 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยนำเข้าจากประเทศไทยมาก เป็นอันดับ 1 คิดเป็นส่วนแบ่งการตลาด ร้อยละ 25.80
เพื่อเป็นการส่งเสริมผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ให้เข้าถึงตลาดที่มีศักยภาพ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ได้จัดสรรงบประมาณให้สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ISMED) เป็นหน่วยร่วมดำเนินการจัดการจับคู่ธุรกิจในแบบออนไลน์ ที่ได้พบกับคู่ค้าแบบตัวต่อตัวมากกว่า 3 รายและได้พบคู่ค้าผ่านช่องทางออนไลน์จากทั่วโลกอีกไม่ต่ำกว่า 3 ราย เป็นการเปิดโอกาสให้เอสเอ็มอีไทยได้ เปิดตลาดต่างประเทศในแบบพร้อมรับมือกับการที่ธุรกิจกลับมา (resume) ในช่วงปลายปี โดยมีกิจกรรม Online Business Matching 2021 ภายใต้โครงการพัฒนาศักยภาพและช่องทางการตลาดเชิงลึก ปีงบประมาณ 2564 ที่เป็นกิจกรรมจับคู่ธุรกิจให้กับผู้ประกอบการเอสเอ็มอี 3 ตลาด ดังนี้ 1. Thailand-PHILIPPINES Online Business Matching 2021 ส่งออกกลุ่มสินค้าแฟชั่นและความงาม 2. Thailand-INDIA Online Business Matching 2021 ส่งออกกลุ่มสินค้าไลฟ์สไตล์ ของขวัญ ของใช้-ของตกแต่งบ้าน และอาหารไลฟ์สไตล์ 3. Thailand-Malaysia Online Business Matching 2021 ส่งออกสินค้ากลุ่มอาหารแปรรูป ทั้งนี้ สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ISMED) คาดหวังที่จะผลักดันให้ ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยสามารถสร้างยอดขายไม่ต่ำกว่า 180 ล้านบาท ในห้วง 1 ปีข้างหน้า จากการ ดำเนินกิจกรรมในครั้งนี้